หน้าหลัก
กรรมการ
ข่าวสาร
บทความ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
OFOS การอบรม Art Tech Camp 2024 DATE 1 ก.พ. 2025
ภาพบรรยากาศการอบรมโครงการ “ART TECH CAMP 2024”การอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรครูด้านศิลปะ เขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2568 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของ Thailand Creative Culture Agency (THACCA) โดยอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะ, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม และ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามนโยบาย “หนึ่งครอบครัว หนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)”
ซึ่งโครงการ ART TECH CAMP 2024 เป็นโครงการที่จะอบรมครูศิลปะในเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ ให้มีความรู้ความเข้าใจศิลปะกับบทบาทในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ของนิเวศศิลปะ อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ
ภาคทฤษฎี : อัดแน่นด้วยการบรรยายจากตัวจริงด้านศิลปะ
ภายในโครงการตลอด 3 วัน ล้วนอัดแน่นด้วยความรู้ด้านศิลปะผ่านการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เช่น
(1)
“การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศศิลปะของโลกศิลปะปัจจุบัน”
โดย คุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ (ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะ)
(2)
“การศึกษาศิลปะเพื่อผลิตผู้สร้าง ผู้เสพงานศิลปะ ผู้ซื้องานศิลปะ และผู้นำศิลปะไปต่อยอดในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”
โดย รศ.ดร.สุกรี เกษรเกศรา (คณบดีคณะวิจิตรศิลป์) อ.ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล “ศิลปาธร” ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์) คุณกิตติมา จารีประสิทธิ์ (ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย “ใหม่เอี่ยม”) คุณยุจเรศ สมนา (ผู้ประกอบการศิลปะและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์)
(3)
“การพัฒนาการเรียนการสอนศิลปะ”
โดย ผศ.สมพร รอดบุญ (นักเขียนอิสระ)
(4)
“การพัฒนาด้านสุนทรียภาพ กับการพัฒนาทักษะการสร้างศิลปะ”
โดย อ.อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ (ศิลปิน)
(5)
“รูปแบบศิลปะและวิธีการสอนร่วมสมัย”
โดย ผศ.ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(6)
“ครูศิลปะกับการพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นเลิศ”
โดย ดร.สังคม ทองมี (ผอ.ศูนย์ศิลป์สิรินธร)
ภาคปฏิบัติกลุ่ม : “สุมหัวอย่างสร้างสรรค์ ผลักดันงานศิลปะ”
นอกจากการรับฟังบรรยายในภาคทฤษฎีแล้ว โครงการยังจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติกลุ่ม โดยวิทยากรจากคณะวิจิตรศิลป์ร่วมกับศิลปินอิสระ ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนสุนทรียศาสตร์และการตลาดเชิงประสบการณ์” โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐาน ได้แก่
ฐานที่ 1 : Expression Design โดย คุณรุ่งศักดิ์ ดอกบัว
ฐานที่ 2 : Expression Art by Our Body and Material โดย คุณรณรงค์ คำผา
ฐานที่ 3 : Impressionism Painting โดย คุณอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์
ฐานที่ 4 : Creating Performance Art โดย ดร.ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล และ ดร.ตวงพร มีทรัพย์
ฐานที่ 5 : การตลาดเชิงประสบการณ์งานหัตถกรรมสร้างสรรค์ โดย คุณยุจเรศ สมนา
รวมทั้งกิจกรรมระดมสมองเพื่อนำเสนอผลงานสร้างสรรค์จากการอบรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยกิจกรรมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการ Upskill Reskill ให้กับครูศิลปะภาคเหนือให้เข้าใจถึงวิธีการสอนและบทบาทศิลปะในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แล้ว ยังถือเป็นการสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตของวิชาชีพศิลปะ ศิลปินอาชีพ และองค์กรหรือสถาบันศิลปะ ได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
Tags:
ofos
,
arts
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ
(ดูเพิ่มเติม)
ยอมรับ
ปฏิเสธ