นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นำทีมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 (ครั้งที่ 9) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประทศ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นำทีมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 (ครั้งที่ 9) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประทศ

DATE 29 พ.ย. 2024
 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นำทีมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 (ครั้งที่ 9) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประทศ โดยมีประเด็นการประชุมที่สำคัญหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น

✽ แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น — มีการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภายใต้ OFOS จำนวน 17 หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย 2,000 คน โดยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 6 หลักสูตร และจะดำเนินโครงการแสดงลงานและแบรนด์แฟชั่นไทย เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยในระดับสากลต่อไป

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน — คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดงานประกาศรางวัลภาพยนตร์และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในประเทศไทยมากมาย เช่น งานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32, เทศกาลภาพยนตร์และซีรีส์นานาชาติ LGBTQ+ รวมถึงได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในต่างประเทศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์และผลประโยชน์จากการเจรจาธุรกิจให้กับไทย เช่น การจัดงาน Thai Night ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโอซากะและปูซาน, การร่วมงานเสวนาและนำภาพยนตร์เรื่อง ‘หลานม่า’ ไปรับรางวัล Audience Award ที่เทศกาลภาพยนตร์เอเชียแห่งนิวยอร์ก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการโครงการ upskill-reskill บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จำนวน 5 โครงการ และโครงการ upskill-reskill ทักษะด้านภาพยนตร์ให้คนไทย จำนวน 5 หลักสูตร

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ — คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมหนังสือ โดยจัดแสดงหนังสือไทยมากกว่า 300 เล่ม จาก 60 สำนักพิมพ์ ใน Thai Pavilion ที่งานจัดแสดงหนังสือนานาชาติไทเป โดยในปี 2569 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็น Guest of Honor ของงานนี้ด้วย สำหรับงานแสดงหนังสือในประเทศ ได้จัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 มียอดผู้เข้าชมกว่า 1.4 ล้านคน และมียอดจำหน่ายกว่า 438 ล้านบาท

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะการแสดง — คณะอนุกรรมการฯ มีการระดมสมองเพื่อทำร่างแผนนโยบายศิลปะการแสดง ครอบคลุมเป้าหมายและประเด็นสำคัญต่างๆ ทั้ง การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายในอนาคตและวิธีการดำเนินโครงการร่วมกัน เพื่อให้ศิลปะการแสดงกลายเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศ

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร — คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรอุตสาหกรรมอาหาร 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย ครอบคลุมทั้งการพัฒนาตำรับอาหาร การพัฒนาครูผู้สอนด้านอาหาร การยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน และสนับสนุนให้มีการฝึกงานในร้านอาหารชั้นนำของประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมายรวมกว่า 18,600 คน

✽ ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม — คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกม โดยเข้าร่วมการเจรจาธุรกิจเกมในต่างประเทศ เช่น งาน Tokyo Game Show 2024, งาน Spiel Essen 2024, งาน Gamescom Asia 2024 และงาน Global Game Exhibition G-STAR 2024 รวมถึงร่วมงานเจรจาธุรกิจในประเทศ มูลค่าการเจรจาการค้ารวมกว่า 2,100 ล้านบาท นอกจากนี้ จะดำเนินโครงการมหกรรมเกมไทยและอีสปอร์ต รวมถึงโครงการต่างๆ ที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกมไทย และยกระดับระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมเกมไทย

ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้พูดถึงการพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ทั้งระบบ และพิจารณาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เพื่อร่วมกันผลักดันยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ และพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูงอย่างที่เราตั้งใจ

เราได้จุดระเบิด “พลังแห่งวัฒนธรรมสร้างสรรค์” ตั้งแต่วินาทีนี้…เป็นต้นไป

Tags: Committee