"...วันนี้ซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้เป็นเรื่องความลับที่ห้ามพูดอีกต่อไป ตั้งแต่เราประกาศยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ มีคนวิ่งเข้ามาติดต่อประเทศไทยมากมาย กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ทุกคนอยากมาดูว่าจะมีโอกาสร่วมมือกับประเทศไทยอย่างไรได้บ้าง"

"...วันนี้ซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้เป็นเรื่องความลับที่ห้ามพูดอีกต่อไป ตั้งแต่เราประกาศยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ มีคนวิ่งเข้ามาติดต่อประเทศไทยมากมาย กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ทุกคนอยากมาดูว่าจะมีโอกาสร่วมมือกับประเทศไทยอย่างไรได้บ้าง"

DATE 22 ต.ค. 2024
 

“…วันนี้ซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้เป็นเรื่องความลับที่ห้ามพูดอีกต่อไป ตั้งแต่เราประกาศยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ มีคนวิ่งเข้ามาติดต่อประเทศไทยมากมาย กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ทุกคนอยากมาดูว่าจะมีโอกาสร่วมมือกับประเทศไทยอย่างไรได้บ้าง”

คือบางช่วงบางตอนจากปาฐกถาของ “นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และรองประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี เนื่องในงานเสวนา ‘เดลินิวส์ ทอล์ก 2024’ ครบรอบ 60 ปี เดลินิวส์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ เป็นยุทธศาสตร์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากต่างประเทศ

วันนี้เราจึงมาสรุปปาฐกถาครั้งนี้ให้ทุกคนได้อ่านกัน แล้วทุกคนจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ยุทธศาสตร์ที่เป็นเรือธงในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของไทย และเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ที่จะพาคนไทยให้ไร้จน

❋ คำถามมากมายเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์

“ตั้งแต่เริ่มแรก การทำงานของคณะซอฟต์พาวเวอร์ถูกหลายคนตั้งคำถามว่า ซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร มีบทบาทอะไรในสังคมโลก ไปจนถึงบอกว่าซอฟต์พาวเวอร์ไม่ควรพูดออกไปว่าจะทำอะไร

“ซอฟต์พาวเวอร์ คำนิยามในตัวมันเอง คือ การทำให้ประเทศอื่น สังคมอื่น ทำตามในสิ่งที่เราอยากให้ทำ แต่ในวันนี้คำนิยามซอฟต์พาวเวอร์อาจแตกต่างออกไปแล้ว คำนิยามซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศไทย คือ “การมีเสน่ห์”

“ขณะที่คำถามว่า ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือไม่นั้น เราต้องหันไปดูการจัดอันดับซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งมีหน่วยงานที่จัดอันดับถึง 4 สถาบัน ซึ่งแต่ละสถาบันได้ตีความซอฟต์พาวเวอร์ในหลากหลายมิติ หลายบริบท ทั้งการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ดังนั้นประเทศไทยจะใช้ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

“ในวันนี้มีการจัดดัชนีซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการร่วมมือกัน ระหว่างประเทศต่างๆ มีการร่วมมือกันอย่างการทำเพลงทำดนตรี ร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องเล้นลับอีกต่อไป การประกาศเรื่องซอฟต์พาวเวอร์จะทำให้ต่างชาติทั่วโลกทราบว่าจะทำอะไรและจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

❋ ยุทธศาสตร์เรือธงที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“รัฐบาลตั้งใจจะทำให้ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็นยุทธศาสตร์ที่คนไทยหลายสิบล้านคนได้ประโยชน์ ต้องทำให้ไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง ทำให้ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครอยู่ข้างหลังจากการคิดขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านความร่วมมือกับต่างประเทศ

“การผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ต้องมีการสร้างความร่วมมือครั้งใหญ่ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และทุกองค์กร โดยคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ จะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมผลักดันในฐานะพระเอก ขณะที่รัฐบาลมีหน้าที่อำนวยความสะดวก ถ้ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ภาครัฐต้องแก้ไขให้หมด

“ซอฟต์พาวเวอร์เป็นความร่วมมือ เราต้องจัดตั้งองค์กรและทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่การคิดเชิงยุทธศาสตร์ คิดว่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร และรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อคิดในเชิงบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นระบบ

“เราจะต้อง empower คน ต้องทำให้ทุกๆ คนได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองและได้รับประโยชน์จากการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ครั้งใหญ่นี้ นั่นคือที่มาของ OFOS เราเชื่อว่ามีคนเก่งๆ อีกมากมายที่ยังไม่มีโอกาสนั้น

“เรามีระดับอนุกรรมการ 11 อุตสาหกรรม 12 คณะ มีอนุกรรมการระดับจังหวัด จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์เป็นการลงรายละเอียด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างให้มีนักรบซอฟต์พาวเวอร์ที่จะทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ‘เสน่ห์ของไทย’ ให้ได้มากที่สุด

“อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ที่ผ่านมามีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ซึ่งมีความล่าช้าและไม่ได้งบตามเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมาต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ให้เกิดขึ้น เช่น หนึ่งโครงการหนึ่งเชฟอาหารไทย มีโค้ชมวยไทย สร้างเฟสติวัล เทศกาลดนตรี เทศกาลภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมเกม เป็นต้น

❋ แผนการใหญ่พลิกฟื้นประเทศไทย

“ในปี 68 ประเทศไทยมีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดอีเวนต์เกมระดับโลก และในงบประมาณปี 68 เราจะดำเนินการโครงการอบรม 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย , โครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านศิลปะ และโครงการอบรมหลักสูตรภาพยนตร์ ฟิล์มแคมป์ และค่ายผลิตภาพยนต์สั้น รวมทั้งสนับสนุนและสร้าง ecosystem เพื่อทำให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยแข็งแกร่งขึ้น

“นอกจากนี้ Winter Festival ปีนี้จะมีความแตกต่างจากปีอื่นๆ ให้เกิดความเชื่อมั่น ให้ทั่วโลกได้รู้ว่าประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นแล้ว และอยากให้มีพ.ร.บ. THACCA หรือสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ที่จะเป็นองค์กรรับผิดชอบในการผลักดันยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ให้สำเร็จด้วยการบูรณาการหน่วยงานทุกๆ ภาคส่วน ซึ่งคาดว่าจะผ่านครม. และผ่านการพิจารณาของสภาฯ ต่อไป เราเชื่อว่า THACCA จะเกิดขึ้นภายในปี 68

“เราเชื่อว่าซอฟต์พาวเวอร์จะเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศรายได้สูงและทำให้คนไทยได้พ้นความยากจนต่อไป”

Tags: Committee