
อ่านมุมมองความคิดของ “จูลิอาโน เปปารินี”นักออกแบบท่าเต้น ผู้ควบคุมงานศิลปะการแสดงระดับโลก
3 Mar 2025
“การมีโอกาสได้คิด ได้ตีความ ได้สร้างเรื่องเล่าใหม่ๆ คือการยกระดับศิลปะการแสดงให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ทรงพลัง” อ่านมุมมองความคิดของ “จูลิอาโน เปปารินี”นักออกแบบท่าเต้น ผู้ควบคุมเวทีบัลเลต์ โอเปร่า ละครเพลง และอีเวนต์ระดับโลก
ซอฟต์พาวเวอร์สร้างด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์?
ซอฟต์พาวเวอร์ต้องการการเชื่อมโยง ต้องการการดึงดูด เพื่อนำเสนอเรื่องเล่าความเป็นชาติที่มีความซับซ้อนให้กลายเป็นพลังข้ามโลกข้ามทวีป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เราต้องมีคนที่จะสร้างพลังของความคิดสร้างสรรค์ ที่รู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร ชอบแบบไหน และคิดอย่างไร นี่คือกุญแจสำคัญ
ซอฟต์พาวเวอร์เกาหลีใต้ทรงอิทธิพลเพราะส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้คิด?
ในปี 1990 รัฐบาลเกาหลีใต้ตระหนักถึงศักยภาพของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมบันเทิง เขาสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ของเขา โดยการทำให้เกิดนักคิดและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ๆ ได้แข่งขันในตลาดนานาชาติ ให้การสนับสนุน ฝึกฝน และพัฒนา ทั้งด้านดนตรี ภาพยนตร์ โทรทัศน์ แฟชั่น และความงาม เปลี่ยนความเป็นเกาหลีให้เข้ากับผู้บริโภคทั่วโลก
“กังนัมสไตล์” คือการตีความอันทรงพลังของเกาหลีใต้
ในปี 2012 เพลงกังนัมสไตล์ เพลงที่เป็นภาษาเกาหลีทั้งหมด เพลงที่เป็นการเสียดสี ล้อเลียน และฉายภาพการใช้ชีวิตของคนทั่วไปที่ไม่คิดจะนำเสนอออกมา กลายเป็นเพลงแรกบนยูทูปที่มีผู้ชมสูงสุดในหนึ่งคืนกว่า 1 พันล้านวิว และปัจจุบันมีคนดูมากถึง 5.4 พันล้านวิว
นี่คือจุดเปลี่ยนของประเทศและสภาวัฒนธรรรมเกาหลีใต้ ที่ต้องกลับมาขับเคลื่อนภาพยนตร์เกาหลี แฟชั่นเกาหลี ความสวยแบบเกาหลี และเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์ของประเทศ ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นแนวหน้าของวงการ และทุกคนต้องจับตามองอัตลักษณ์ของประเทศเกาหลีใต้
ทำไมอนิเมะญี่ปุ่นสร้างเงินมหาศาล?
ในประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมอนิเมะสร้างมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะสูงถึง 63,000 ล้านดอลลาร์ ภายใน 10 ปี ความน่าสนใจคือ ทุกอย่างในอนิเมะล้วนเล่าเรื่องราวความเป็นญี่ปุ่น วัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น เผยแพร่ความเป็นญี่ปุ่นไปทั่วทุกมุมโลก
“ซูชิ” คือความสร้างสรรค์ของเก่าและของใหม่
อาหารญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทั่วโลก แต่อาหารญี่ปุ่นที่มีเป็นร้อยเป็นพันอย่าง ทำไม “ซูชิ” กลับได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมันดีต่อสุขภาพ สด และมีสีสันสวยงาม แต่เหตุผลจริงๆ เลยคือ เพราะมันดัดแปลงได้ มีพื้นที่ให้ตีความ มีความยืดหยุ่น มันท้ายทายให้เกิดการทดลองใหม่ๆ ระหว่างของดั้งเดิมกับของใหม่ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมบันเทิง
การตีความอดีตคือความงดงามของความสร้างสรรค์
เราคือผู้พิทักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เราสามารถทำอดีตให้มีชีวิตได้ผ่านการเล่าเรื่อง นี่คือความงดงาม ซึ่งคนที่จะทำได้ดีที่สุดที่จะเชื่อมเรื่องเล่าระหว่างอดีตกับปัจจุบันคือ “นักคิดนักสร้างสรรค์” ยุคใหม่
เรารู้ดีว่าเราไม่สามารถเอาทุกอย่างมาเล่าได้หมด แต่ต้องปล่อยให้เขาได้ลอง ให้เขาได้ปรับเปลี่ยน เขากำลังเดินอยู่บนวิธีคิดใหม่ เพราะพวกเราคือคนสร้างอนาคต และพวกเขาคืออนาคตของเรา
คุณคิดเห็นอย่างไร? ศิลปะการแสดงของไทยสามารถตีความอดีตได้ไหม? และเมืองไทยจะยอมรับความสร้างสรรค์นี้ได้หรือไม่? การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยให้กลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ระดับโลกได้อย่างไร? ลองมาแลกเปลี่ยนกัน
╔══════════════╗
พิเศษสำหรับคุณ ทุน THACCA x Melco
ฝึกงาน 3 เดือน กับ 5 กูรูซอฟต์พาวเวอร์ระดับโลก
**ทุนเติมจำนวน ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมให้เงินเดือน
สมัครวันสุดท้าย 31 มี.ค. 2568 (24.00 น.)
ได้บินลัดฟ้าไปตามหาความฝันกัน
╚══════════════╝
รับชมคลิปเต็ม จูลิอาโน เปารินี ในงาน Global Soft Power Talks (ซับไทย-อังกฤษ)
Tags : people #knowledge #performance-art