💦 ทำไม S22O ถึงเป็น ซอฟต์ พราวด์ เว่อออ

💦 ทำไม S22O ถึงเป็น ซอฟต์ พราวด์ เว่อออ

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า งานเทศกาลดนตรี S2O Music Festival ที่จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์เป็นประจำทุกปี เป็นงานอีเวนต์ต้นตำรับจากสัญชาติไทยที่ได้รวมเอาความสนุกชุ่มช่ำของสงกรานต์ รวมเข้ากับความมันส์ของเทศกาลดนตรีแนว EDM เข้าไว้ด้วยกัน แต่ไม่เพียงเท่านั้น เพราะ S2O ยังโด่งดังข้ามดินแดน จนมีผู้สนใจซื้อลิขสิทธิ์ไปจัดใน 4 ประเทศ

วันนี้เราชวนคุณมาเจาะลึกกับมุมมองของผู้จัดงาน S2O ที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปจัดในต่างประเทศ และมุมมองของชาวต่างชาติต่อการผสมผสานประเพณีไทยอย่าง “สงกรานต์” เข้ากับวัฒนธรรมดนตรีสมัยใหม่ ในหัวข้อ Buyer’s Perspective S2O Purchasing insights จากผู้จัดงาน S2O 4 คน 4 ประเทศ

  • 📌 ปุลิน มิลินทจินดา, S2O Factory Thailand
  • 📌 Brian Tsai, S2O Taiwan
  • 📌 Calvin Chan, S2O Hongkong
  • 📌 Eun Sung Kim, S2O Korea

📍 ปุลิน มิลินทจินดา

✨ เทศกาลสงกรานต์ของไทย สู่ไอเดียจัดงาน S2O Music Festival

เราเชื่อว่าหลายคนอาจจะมีมุมมองว่าสงกรานต์ไทยจะต้องดูดี เต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนน้อม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในอีกด้านคือความสนุกสนาน อันที่จริงแล้วช่วงเทศกาลสงกรานต์ในไทยมักเต็มไปด้วยปาร์ตี้ เป็นที่มาของไอเดียการสร้าง landmark สำหรับงานสงกรานต์ด้วยการเติมคุณภาพเข้าไป เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสนุกไปกับมันได้อย่างแท้จริง

✨S2O งานที่ใครๆก็สนุกได้

เราเลือกใช้ดนตรีแนว EDM ในงาน S2O เพราะเป็นดนตรีที่เหมาะกับงานปาร์ตี้ ทุกคนสามารถสนุกไปกับมันได้ แม้ว่าจะฟังเนื้อเพลงไม่ออก เพียงแค่ฮัมไปกับจังหวะและทำนองก็สนุกได้แล้ว

พร้อมด้วยคอนเซปต์ “Body needs water” (ร่างกายต้องการน้ำ) ร่วมกับความหมายของสงกรานต์ ที่หมายถึง การขอบคุณส่งท้ายปีที่ผ่านมาและต้อนรับปีใหม่ พร้อมการอวยพรผ่านน้ำ จึงได้นำความหมายที่ดีเหล่านี้มาเป็น key message ของงาน S2O

และข่าวดี คือ เรากำลังจะมีงาน S2O จัดขึ้นครั้งแรกที่ New York เมือง Brooklyn นับว่าเป็นการผจญภัยนอกเอเชียครั้งแรกของงาน S2O

✨ “S2O licensee” ผู้นำ Soft Power ของไทย ไปเผยแพร่ยังประเทศบ้านเกิด

The licensee หมายถึง ชาวต่างชาติที่นำงานไปโปรโมตต่อในประเทศของเขา เป็นกลุ่มคนที่ทำให้งานได้จัดขึ้นในบ้านเกิดของเขา ดังนั้น เราจะพูดถึงการปรับ S2O ให้เข้ากับสังคมขอวงแต่ละประเทศ เพื่อให้งานออกมาดีและสนุกสำหรับประเทศนั้นๆ มากที่สุด

และนี่คือเหล่าผู้ที่นำความสนุกของประเทศไทย ไปเผยแพร่ยังประเทศบ้านเกิดของเขา เรียกได้ว่า Soft Power นี้ เกิดจากการร่วมมือกันอย่างแท้จริง

✨ “ไม่รีบร้อน” กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ S2O ขยายไปต่างประเทศ

สิ่งแรกคือ “Learn to say No” เพราะทุกคนที่เข้ามาติดต่อเพื่อจะจัดงาน S2O ต่างมีมุมมอง ความคิด และมีเหตุผลที่ต่างกัน ในการนำ S2O ไปจัดในแต่ละประเทศ

สิ่งที่เราทำคือ “การไม่รีบร้อน” หากมีอะไรที่ดูไม่เข้าท่า ผมมักจะหยุดคิดก่อนเสมอ และมาปรึกษากับคนที่มีความตั้งใจให้งานออกมาดีที่สุด

S2O จึงไม่ใช่แค่งานคอนเสิร์ตที่เปิดเพลง EDM แล้วสาดน้ำ การจัดงานในแต่ละประเทศ ก็มีความยากขึ้นอยู่กับปัจจัยในประเทศนั้นๆ

เช่น ในประเทศญี่ปุ่น “น้ำ” มีราคาสูงมาก การจัดงานนี้จึงมีต้นทุนที่สูงตามไปด้วย เพราะต้องมีค่าทีมงาน ค่าตัวศิลปิน ค่าระบายน้ำ และค่าดำเนินงานอื่นๆ

ดังนั้น กลยุทธ์จึงเป็นการทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละประเทศ เพื่อให้งานนี้เป็นงานที่ผู้ชมจะได้รู้สึกคุ้มค่าที่สุด

และโชคดีที่เรามีพาร์ทเนอร์ที่ดีมาก เราทำงานด้วยกัน เราแก้ปัญหาไปด้วยกัน

ทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขยายเทศกาล S2O ซึ่งไม่ใช่การเร่งรีบเพื่อจะไปจัดที่ไหนก็ได้ แต่เราอยากที่จะดูแลทุกขั้นตอนของการจัดงาน เพื่อทำให้ออกมาถูกต้องที่สุด เพราะถ้าพลาดไปเพียงหนึ่งจุด ก็อาจทำให้จุดที่เหลือล้มตามไปด้วย

✨พื้นที่จัด S2O แต่ละที่ มีความเฉพาะตัว เราต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ

เราเองก็มีความคาดหวังและได้เห็นสิ่งต่างๆจากแต่แบรนด์แตกต่างกันไป จากฝั่งของเกาหลีใต้ คุณ Kim ได้แสดงให้เห็นถึงไอเดีย ความสร้างสรรค์ที่เขาได้ปรับไปใช้ในงานของเขาที่เวทีเกาหลีใต้

จากฝั่งของไต้หวัน ผมได้เรียนรู้จากคุณ Brian ทึ่มีความคิดสร้างมูลค่าของงาน ทำเงินเพิ่มขึ้นได้จากโซน VVIP

ในฝั่งฮ่องกง จากคุณ Calvin ผมได้เห็นเรื่องการเจรจากับสปอนเซอร์ วิธีทำให้สปอนเซอร์อยากมาร่วมงานกับเรามากขึ้น แสดงให้เห็นว่าการใช้วัฒนธรรมในการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญ ให้เขาเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องจัดประชุม ทำไมเราถึงทำงานนี้ และเรารับมือกับตำรวจในพื้นที่อย่างสันติ

เราได้เรียนรู้ที่จะอดทน เราเรียนรู้ที่จะใจเย็น ไม่เครียด ไม่ตื่นตระหนก ใจเย็นไว้แล้วทุกอย่างจะโอเค งานนี้ทำให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และผมมองว่าการลดละอีโก้ของตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ เราพยายามจะนำเทศกาลสงกรานต์ไปเฉลิมฉลองให้กับชาวโลก ซึ่งก็ล้วนเคยเผชิญกับความยากในการสื่อสารเทศกาลสงกรานต์ไปยังคนในประเทศของเขา

ผมจึงคิดว่าแต่ละพื้นที่ที่เราไปจัดงานมีความพิเศษในตัวเอง ดังนั้นเราจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ

✨S2O จะเป็นเครื่องมือสื่อสาร Soft Power ของไทยอย่างไร

ส่วนแรก ผมมองว่า S2O เป็นภาพลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 20-30 ปี และผมมองว่าเราสามารถพูดถึง S2O ในนามของประเทศไทยในกลุ่มชาวต่างชาติได้ด้วย

ชาวโลกมองประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตร คนไทยเป็นคนสนุกสนาน เราไม่ใช่คนเคร่งเครียด เรามีประเพณีสาดน้ำเล่นกัน

อีกส่วนหนึ่ง คือ การทำงานร่วมกับภาครัฐ ในเบื้องหน้าเรามีคุณวู้ดดี้ (วุฒิธร มิลินทจินดา) ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐ พยายามโปรโมต Soft Power ของไทย ไม่ใช่แค่งาน S2O แต่รวมถึงงานเทศกาลอื่นๆ ด้วย ซึ่งช่วยให้ชาวต่างชาติหลงรักประเทศไทยมากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยมากขึ้น เช่น ผู้คน วัฒนธรรม อาหาร ประเพณี ธุรกิจบันเทิง และอื่นๆ

ทั้ง 2 ส่วนนี้ เราได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดขึ้น เรามีความสุขที่จะได้ทำงานนี้ต่อไป และเราเองก็หวังว่าจะได้ร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้น เพื่อช่วยให้ภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศไทยออกมาดียิ่งขึ้น

📍 Brian Tsai

✨ ต้องเอาไปทำที่ไต้หวันให้ได้

อย่างแรกเลย คือ ในตอนนั้นผมกำลังมองหาสิ่งใหม่ที่มีเอกลักษณ์ และตอนนั้นทุกคนในไต้หวันรวมถึงที่จีนก็คุยกันแต่เรื่องงาน S2O

อย่างที่สอง คือ ชื่องาน ‘S2O’ เป็นชื่อที่จำได้ พูดก็ง่าย และมีความเป็นเอกลักษณ์ แต่ตอนนั้นข้อกังวลเดียวของผม คือการสาดน้ำในคอนเสิร์ต “ผมกลัวเปียก” แต่พอได้ลองไปงาน S2O ปี 2017 ปรากฏว่ามันสนุกมาก ไม่ได้เปียกเลอะเทอะเหมือนตากฝนอย่างที่ผมจินตนาการไว้ ดังนั้นผมจึงคิดว่า “เราต้องเอางานนี้ไปทำที่ไต้หวันให้ได้”

✨ ความท้าทายของ S2O ในไต้หวัน

อันที่จริงผมเองก็กังวล เพราะผมคิดว่าชาวไต้หวันไม่น่าจะชอบการที่ตัวเปียก และไม่มีวัฒนธรรมการเล่นสงกรานต์แบบที่ไทย ดังนั้นผมจึงคิดว่าจะนำวัฒนธรรมสงกรานต์ไปยังไต้หวันในรูปแบบงานเทศกาล จะเป็นการเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศไทยให้กับคนไต้หวันและงานเทศกาลที่เราจะจัดได้ด้วย

เราเลยจัดประตูต้อนรับตรงทางเข้างาน เป็นจุดแรกที่ผู้คนจะต้องเปียกก่อนเลย ต้อนรับแกมบังคับนิดนึง ให้รู้เลยว่าคุณจะต้องได้เปียกแน่

ซึ่งหลายๆ คนก็กลัวที่จะโดนสาดน้ำ แต่เรามีผู้ชมหลากหลาย ทั้งผู้ชมผู้หญิงและเพศหลากหลาย ซึ่งทุกคนก็สาดน้ำใส่กันด้วยปืนฉีดน้ำ เป็นการเปิดโอกาสให้ได้เล่นน้ำด้วยกัน ตัวเปียกไปด้วยกัน ก่อนจะเข้าสู่งาน S2O

อีกจุดสำคัญของกลยุทธ์จัดงานที่ไต้หวัน คือ โซน VIP เพราะเรารู้ว่าชาวไต้หวันไม่ชอบเปียก เราจึงจัดโซน VIP แยกไว้ต่างหาก หรือเรียกว่าเป็นโซนแห้ง สำหรับผู้ที่ต้องการสนุกสนานกับดนตรีเท่านั้น

ผมคิดว่าการจัดงานนี้ที่ไต้หวันเป็นเรื่องท้าทาย แต่ผู้คนก็เข้ามาสนุกไปด้วยกัน พวกเขาได้รู้สึกแบบเดียวกับที่ผมเคยรู้สึกตอนไปงาน S2O ที่ไทย ได้สัมผัสถึงการปลดปล่อย ความเป็นอิสระไปกับน้ำ และผมคิดว่ามันเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า

📍 Calvin Chan

✨ S2O งานที่นำความสนุกคืนสู่ฮ่องกง

ก่อนเกิดโควิด ผมเคยไปงาน S2O ที่ประเทศไทยกับเพื่อนๆ พอในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ดูเหมือนทุกอย่างจะหยุดนิ่งไปหมด และหลังจากสถานการณ์ดีขึ้น ผมมีความคิดอยากนำความสนุกกลับคืนสู่ฮ่องกง สิ่งแรกที่ผมนึกถึงก็คืองาน S2O ที่ไทย

ผมจึงติดต่อคุณปุลิน เพื่อขอ license ในการจัดงาน เพื่อที่จะได้สร้างความสนุกในบ้านเมืองของผม ซึ่งบรรยากาศของงานคอนเสิร์ตและการสาดน้ำ เป็นคอนเซปต์ที่น่าประทับใจมาก

และในรอบหลังๆ นี้ ผมยิ่งประทับใจมากขึ้น เพราะได้เห็นนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศทั่วโลก หลายเชื้อชาติ เข้ามางาน S2O และยิ่งไปกว่านั้น หลังงาน S2O จบ พวกเขาได้มีการจัด after party ต่อกันเอง ผมเลยมองว่า S2O เป็นอะไรที่เยี่ยมสุดๆ สำหรับทุกคน

✨ “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” เอกลักษณ์ที่ทำให้ผู้ชม S2O ในฮ่องกงชื่นชอบ

ผมคิดว่าฮ่องกงเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะต่างกับไต้หวันที่มีความเฉพาะตัว หรืออย่างเกาหลีใต้ที่ชื่นชอบความบันเทิงอยู่แล้ว

เรารู้ว่าจุดแข็ง จุดอ่อนของเราคืออะไร ในช่วงแรกที่คุณปุลินพูดถึงเรื่องสถานที่จัดของเรา คือ ใจกลางเมือง ซึ่งมีความโดดเด่น แต่ก็มีต้นทุนในการจัดงานที่สูง ดังนั้นเราจึงพยายามไม่โฟกัสมากในส่วนของศิลปิน

เราพยายามโฟกัสไปที่ประสบการณ์ของผู้ชม ซึ่งเราเข้าใจนักท่องเที่ยวที่มาฮ่องกง ที่ผ่านมาคือ มาเจอเพื่อนๆ จากญี่ปุ่น เกาหลี จีน ดังนั้นเราเลยนำจุดนี้มาเป็นจุดโปรโมตงาน

ฮ่องกงกลายเป็นที่ที่คุณใช้เวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์ พบปะผู้คนจากหลากหลายประเทศได้ ในปีที่ผ่านมา ผมมองว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จทีเดียว และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งเพราะมีอาคารสวยงามแปลกตามากมายในเมืองเป็นฉากหลังด้วย

เราพยายามบอกผู้ชมของเราว่า เขาสามารถมาถ่ายรูปกับบรรยากาศเมืองฮ่องกงได้ ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้เขา เราหวังว่าพวกเขาจะสนุกสนานไปความหลากหลายนี้ในฮ่องกง

📍 Eun Sung Kim

✨ S2O “cold and cool” festival

ผมมีประสบการณ์จัดงานเทศกาลมานานกว่า 20 ปี สำหรับ S2O เป็นเทศกาลที่ล้ำค่าและมีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ โลกเรามีอากาศร้อนขึ้น เรียกว่าแทบจะอยู่ยากถ้าไม่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งไม่เพียงแค่ไทยเท่านั้นที่อากาศร้อน ในเกาหลีหรือหลายที่ในโลกก็ค่อนข้างมีอากาศร้อนเหมือนกัน

และโดยส่วนมากแล้ว อากาศในงานเทศกาลดนตรีมักจะร้อนอบอ้าวกว่าปกติ เพราะต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในการจัดงานเยอะมาก ซึ่งคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มอยากเข้าร่วมงานที่มีอากาศเย็นมากกว่า แต่ต้องมีอะไรให้พวกเขาได้ตื่นเต้นด้วย

ดังนั้น S2O จึงตอบโจทย์มาก แทบจะเป็นแบรนด์แรกๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ที่จัดงานแนวนี้ เสียงตอบรับของผู้ชมก็ค่อนข้างดีมาก พอพวกเขานึกถึงงาน S2O ก็จะนึกถึงความสดชื่นและความเท่สุดๆ ผมมองว่าเป็นงานที่มีไอเดียเจ๋งมาก นี่คืองานที่ “cold and cool”

✨มุมมองของคนเกาหลี กับงาน S2O

ผมคิดว่าการจัด S2O ในเกาหลีใต้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะคนเกาหลีรุ่นใหม่มองว่า ไทย-เกาหลี ค่อนข้างสนิทกัน และเทศกาลสงกรานต์ก็เป็นเทศกาลที่โด่งดังมาก ชาวเกาหลีใต้เองก็รู้จักทั้งสงกรานต์และงาน S2O ดังนั้นพวกเขาเลยมองว่า งาน S2O = สงกรานต์ อันที่จริงพวกเขาอาจจะรู้จักสงกรานต์ดีกว่าผมเสียอีก

ดังนั้น ตอนที่จัดงาน S2O ครั้งแรกในเกาหลีใต้ ก็ถือว่าเป็นงานที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วในหมู่วัยรุ่นเกาหลี ผมมองว่านี่เป็นเครื่องมือที่ดีมากของไทยในการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่สายตาชาวโลก และสงกรานต์ก็เป็นเทศกาลที่เหมาะกับชาวเกาหลีใต้รุ่นใหม่มาก

.

👉 ชมคลิปเสวนาเต็มๆได้ที่ 💦

https://youtu.be/vaGvyvRnICo?si=jDKzI7dYHRVmlgUI

Tags: music