ประเทศไทย สู่จุดหมาย “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

ประเทศไทย สู่จุดหมาย “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

“ทุกคนล้วนมีส่วนใน ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ และสิ่งนี้จะเป็นตัวเชื่อมอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน”

- Stewart Moore, CEO & Founder of EarthCheck

นับตั้งแต่โควิดเป็นต้นมา การดำรงชีวิตประจำวันของผู้คนได้เปลี่ยนไป และส่งผลกับการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน จากผลสำรวจ Consumer Trends พบว่า ผู้คนมีความใส่ใจต่อการท่องเที่ยวมากขึ้น พวกเขายินดีที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างความยั่งยืน และเต็มใจตอบแทนชุมชน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ที่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติ กระจายรายได้อย่างทั่วถึงให้กับผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยว และสร้างมูลค่าเพิ่มและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว จึงเป็นแนวทางที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยวและโลกของเรา

Stewart Moore (CEO & Founder of Earth​Check) ได้แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ Thailand’s Journey Toward A Sustainable Tourism Destination บนเวที Vision Stage ในงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum 2024 ถึงแนวทางในการพาประเทศไทยไปสู่จุดหมายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเราได้สรุปมาให้อ่านกัน

เราสามารถสร้าง Sustainable destination ได้จาก Key message ดังนี้

  1. สร้างฐานแห่งความสำเร็จ ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ สร้างความสามารถการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ
  2. มีสถิติและการวัดผล เพื่อให้เข้าใจการทำงานและพื้นฐานของเรา
  3. มีระบบรับประกันคุณภาพ หรือใบรับรับรองอย่างเป็นทางการ เพื่อป้องกันการฟอกเขียวทางธุรกิจ (Green washing)
  4. สร้างการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (Regenerative tourism) และการท่องเที่ยวแบบองค์รวม (Holistic Tourism)
  5. หากมอง Carbon economy เป็นโอกาส จะทำให้เกิดการเงินสีเขียว (Green finanance) และสามารถสร้างตลาดการเงินที่พร้อมตอบแทนให้กับชุมชน
  6. ความยั่งยืนและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable tourism) จะทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
  7. การมี Cathedral thinking คือ การมองไปยังอนาคต เพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศและคนรุ่นหลังในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า

✨ 6 โอกาส ที่สามารถทำให้ไทยเป็น Sustainable Tourism ได้

🚩Spa & Beauty : ในยุคหลังโควิด ผู้คนอยากออกมาท่องเที่ยวและเชื่อมต่อกันอีกครั้ง ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะดูแลตัวเองมากขึ้น ทั้งเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี ความสะอาด และความปลอดภัย ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นทั้งเรื่องสปาและความงาม นี่จึงเป็นจุดขายของประเทศได้

🚩Medical Tourism : การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยทำไว้ดีมาก มีคนจากหลากหลายชาติเดินทางเข้ามาเพื่อรับบริการทางการแพทย์ เพราะด้วยระบบสาธารณสุขมีที่คุณภาพระดับโลกแต่มีค่าใช้น้อยกว่าประเทศอื่น เป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวของไทยที่โดดเด่นมากๆ

🚩Spiritual Tourism : การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ประเทศไทยเก่งในเรื่องของ Medical Tourism อยู่แล้ว อาจจะลองขยายไปที่มุมของการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่สามารถอิงกับความศรัทธา ความเชื่อ หรือเพื่อให้จิตใจสงบได้

🚩Active Outdoors : การท่องเที่ยวที่ให้ผู้คนได้ทำกิจกรรม ขอยกตัวอย่างจากยุโรป จะมีกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เดินเล่น ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าอยากจะเดินเล่นเฉยๆ จะลงแข่งแบบไตรกีฬา หรือดำน้ำด้วยก็ได้

🚩Cultural Tourism : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเทศไทยมีมวยไทยที่สามารถใช้นำเสนอในส่วนนี้ได้ นักท่องเที่ยวจะได้รับทั้งประสบการณ์ แถมได้เข้าใจวัฒนธรรมด้วย

🚩Learning & Development : การท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาและเสริมสร้าง ตัวอย่างเช่น การทำงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ

“ความยั่งยืน” และ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ไม่ใช่สินค้า หากแต่เป็นคุณค่าและผลลัพธ์ และจะเป็นตัวเชื่อมอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน เมื่อทุกอย่างรวมกันเป็นหนึ่ง เราก็จะสามารถเติบโตไปด้วยกันได้

Tags: tourism