ทำไม "S2O" ถึงเป็น ซอฟต์ พราวด์ เว่อออ

ทำไม "S2O" ถึงเป็น ซอฟต์ พราวด์ เว่อออ

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า งานเทศกาลดนตรี S2O Music Festival ที่จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์เป็นประจำทุกปี เป็นงานอีเวนต์ต้นตำรับจากสัญชาติไทยที่ได้รวมเอาความสนุกชุ่มช่ำของสงกรานต์ รวมเข้ากับความมันส์ของเทศกาลดนตรีแนว EDM เข้าไว้ด้วยกัน แต่ไม่เพียงเท่านั้น เพราะ S2O ยังโด่งดังข้ามดินแดน จนมีผู้สนใจซื้อลิขสิทธิ์ไปจัดใน 4 ประเทศ

วันนี้เราชวนคุณมาดูมุมมองของ “ปุลิน มิลินทจินดา” ผู้จัดงาน S2O ประเทศไทย ในหัวข้อ Buyer’s Perspective S2O Purchasing insights

✨ เทศกาลสงกรานต์ของไทย สู่ไอเดียจัดงาน S2O Music Festival

เราเชื่อว่าหลายคนอาจจะมีมุมมองว่าสงกรานต์ไทยจะต้องดูดี เต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนน้อม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในอีกด้านคือความสนุกสนาน อันที่จริงแล้วช่วงเทศกาลสงกรานต์ในไทยมักเต็มไปด้วยปาร์ตี้ เป็นที่มาของไอเดียการสร้าง landmark สำหรับงานสงกรานต์ด้วยการเติมคุณภาพเข้าไป เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสนุกไปกับมันได้อย่างแท้จริง

✨ S2O งานที่ใครๆก็สนุกได้

เราเลือกใช้ดนตรีแนว EDM ในงาน S2O เพราะเป็นดนตรีที่เหมาะกับงานปาร์ตี้ ทุกคนสามารถสนุกไปกับมันได้ แม้ว่าจะฟังเนื้อเพลงไม่ออก เพียงแค่ฮัมไปกับจังหวะและทำนองก็สนุกได้แล้ว

พร้อมด้วยคอนเซปต์ “Body needs water” (ร่างกายต้องการน้ำ) ร่วมกับความหมายของสงกรานต์ ที่หมายถึง การขอบคุณส่งท้ายปีที่ผ่านมาและต้อนรับปีใหม่ พร้อมการอวยพรผ่านน้ำ จึงได้นำความหมายที่ดีเหล่านี้มาเป็น key message ของงาน S2O

และข่าวดี คือ เรากำลังจะมีงาน S2O จัดขึ้นครั้งแรกที่ New York เมือง Brooklyn นับว่าเป็นการผจญภัยนอกเอเชียครั้งแรกของงาน S2O

✨ “S2O licensee” ผู้นำ Soft Power ของไทย ไปเผยแพร่ยังประเทศบ้านเกิด

The licensee หมายถึง ชาวต่างชาติที่นำงานไปโปรโมตต่อในประเทศของเขา เป็นกลุ่มคนที่ทำให้งานได้จัดขึ้นในบ้านเกิดของเขา ดังนั้น เราจะพูดถึงการปรับ S2O ให้เข้ากับสังคมขอวงแต่ละประเทศ เพื่อให้งานออกมาดีและสนุกสำหรับประเทศนั้นๆ มากที่สุด

และนี่คือเหล่าผู้ที่นำความสนุกของประเทศไทย ไปเผยแพร่ยังประเทศบ้านเกิดของเขา เรียกได้ว่า Soft Power นี้ เกิดจากการร่วมมือกันอย่างแท้จริง

✨ “ไม่รีบร้อน” กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ S2O ขยายไปต่างประเทศ

สิ่งแรกคือ “Learn to say No” เพราะทุกคนที่เข้ามาติดต่อเพื่อจะจัดงาน S2O ต่างมีมุมมอง ความคิด และมีเหตุผลที่ต่างกัน ในการนำ S2O ไปจัดในแต่ละประเทศ

สิ่งที่เราทำคือ “การไม่รีบร้อน” หากมีอะไรที่ดูไม่เข้าท่า ผมมักจะหยุดคิดก่อนเสมอ และมาปรึกษากับคนที่มีความตั้งใจให้งานออกมาดีที่สุด

S2O จึงไม่ใช่แค่งานคอนเสิร์ตที่เปิดเพลง EDM แล้วสาดน้ำ การจัดงานในแต่ละประเทศ ก็มีความยากขึ้นอยู่กับปัจจัยในประเทศนั้นๆ

เช่น ในประเทศญี่ปุ่น “น้ำ” มีราคาสูงมาก การจัดงานนี้จึงมีต้นทุนที่สูงตามไปด้วย เพราะต้องมีค่าทีมงาน ค่าตัวศิลปิน ค่าระบายน้ำ และค่าดำเนินงานอื่นๆ

ดังนั้น กลยุทธ์จึงเป็นการทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละประเทศ เพื่อให้งานนี้เป็นงานที่ผู้ชมจะได้รู้สึกคุ้มค่าที่สุด และโชคดีที่เรามีพาร์ทเนอร์ที่ดีมาก เราทำงานด้วยกัน เราแก้ปัญหาไปด้วยกัน

ทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขยายเทศกาล S2O ซึ่งไม่ใช่การเร่งรีบเพื่อจะไปจัดที่ไหนก็ได้ แต่เราอยากที่จะดูแลทุกขั้นตอนของการจัดงาน เพื่อทำให้ออกมาถูกต้องที่สุด เพราะถ้าพลาดไปเพียงหนึ่งจุด ก็อาจทำให้จุดที่เหลือล้มตามไปด้วย

✨ พื้นที่จัด S2O แต่ละที่ มีความเฉพาะตัว เราต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ

เราเองก็มีความคาดหวังและได้เห็นสิ่งต่างๆจากแต่แบรนด์แตกต่างกันไป จากฝั่งของเกาหลีใต้ คุณ Kim ได้แสดงให้เห็นถึงไอเดีย ความสร้างสรรค์ที่เขาได้ปรับไปใช้ในงานของเขาที่เวทีเกาหลีใต้

จากฝั่งของไต้หวัน ผมได้เรียนรู้จากคุณ Brian ทึ่มีความคิดสร้างมูลค่าของงาน ทำเงินเพิ่มขึ้นได้จากโซน VVIP ในฝั่งฮ่องกง จากคุณ Calvin ผมได้เห็นเรื่องการเจรจากับสปอนเซอร์ วิธีทำให้สปอนเซอร์อยากมาร่วมงานกับเรามากขึ้น แสดงให้เห็นว่าการใช้วัฒนธรรมในการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญ ให้เขาเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องจัดประชุม ทำไมเราถึงทำงานนี้ และเรารับมือกับตำรวจในพื้นที่อย่างสันติ

เราได้เรียนรู้ที่จะอดทน เราเรียนรู้ที่จะใจเย็น ไม่เครียด ไม่ตื่นตระหนก ใจเย็นไว้แล้วทุกอย่างจะโอเค งานนี้ทำให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และผมมองว่าการลดละอีโก้ของตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ เราพยายามจะนำเทศกาลสงกรานต์ไปเฉลิมฉลองให้กับชาวโลก ซึ่งก็ล้วนเคยเผชิญกับความยากในการสื่อสารเทศกาลสงกรานต์ไปยังคนในประเทศของเขา

ผมจึงคิดว่าแต่ละพื้นที่ที่เราไปจัดงานมีความพิเศษในตัวเอง ดังนั้นเราจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ

✨ S2O จะเป็นเครื่องมือสื่อสาร Soft Power ของไทยอย่างไร

ส่วนแรก ผมมองว่า S2O เป็นภาพลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 20-30 ปี และผมมองว่าเราสามารถพูดถึง S2O ในนามของประเทศไทยในกลุ่มชาวต่างชาติได้ด้วย

ชาวโลกมองประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตร คนไทยเป็นคนสนุกสนาน เราไม่ใช่คนเคร่งเครียด เรามีประเพณีสาดน้ำเล่นกัน

อีกส่วนหนึ่ง คือ การทำงานร่วมกับภาครัฐ ในเบื้องหน้าเรามีคุณวู้ดดี้ (วุฒิธร มิลินทจินดา) ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐ พยายามโปรโมต Soft Power ของไทย ไม่ใช่แค่งาน S2O แต่รวมถึงงานเทศกาลอื่นๆ ด้วย ซึ่งช่วยให้ชาวต่างชาติหลงรักประเทศไทยมากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยมากขึ้น เช่น ผู้คน วัฒนธรรม อาหาร ประเพณี ธุรกิจบันเทิง และอื่นๆ

ทั้ง 2 ส่วนนี้ เราได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดขึ้น เรามีความสุขที่จะได้ทำงานนี้ต่อไป และเราเองก็หวังว่าจะได้ร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้น เพื่อช่วยให้ภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศไทยออกมาดียิ่งขึ้น

Tags: music